ในยุคที่ก้าวเข้าสู่โลกของ Internet of Things (IoT) หรือยุคที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต การใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรม โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ไม่เว้นแม้แต่ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่งที่มีการนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) มาใช้ประโยชน์ ทั้งการบริหารจัดการกลุ่มรถ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ

นอสตร้า โลจิสติกส์ โซลูชันด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ โดยบริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ชี้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และธุรกิจขนส่งเร่งปรับตัวรับเทคโนโลยี ย้ำความอัจฉริยะของ Telematics และ IoT สามารถนำมาใช้ประโยชน์ที่สำคัญที่สุด 2 ประการ คือ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และการบำรุงรักษายานยนต์ชะลอความสึกหรอของเครื่องยนต์ โดยพบว่าเทคโนโลยีเทเลเมติกส์และ IoT ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยได้ เพราะ 9 ใน 10 ของการเกิดอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากมนุษย์ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นชี้ว่า สาเหตุหลักอันดับ 1 ของการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตบนท้องถนนของไทย คือ ขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด อันดับ 2 ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด และอันดับ 3 ขับรถตามกระชั้นชิด ดังนั้น สิ่งสำคัญลำดับแรกในการป้องกันและลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนนคือ การป้องกันพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้ขับรถ ซึ่ง เทเลเมติกส์ คือ เทคโนโลยีความปลอดภัยในรถยนต์เพื่อช่วยป้องกันและแจ้งเตือนให้ผู้ขับรถทราบความเสี่ยงอันตรายในขณะขับรถ สามารถตรวจสอบเมื่อคนขับตาไม่มองถนน มือไม่จับพวงมาลัย สมองไม่มีสติในการควบคุมรถ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังหรือเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันเวลา

นางสาวปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า เทเลเมติกส์เป็นโซลูชันใหม่ที่ทำหน้าที่เก็บรวมรวบ และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างรถยนต์และผู้ใช้รถให้เป็นหนึ่งเดียวผ่านเทคโนโลยี IoT โดยการเชื่อมต่อและผสมผสานอุปกรณ์หลายชนิดเข้าด้วยกัน ผ่านการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตและส่งข้อมูลมารวบรวมไว้ยัง Cloud Server ทำให้เกิดการวิเคราห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data สำหรับการบริหารจัดการในธุรกิจยานยนต์และการขนส่ง ก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรทางธุรกิจ เป็นอย่างมาก โดยจะเห็นตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ผ่านเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ เช่น การจัดการความเสี่ยงจากพฤติกรรมการขับรถ (Risk Management) การจัดเส้นทางการเดินรถ (Routing Optimization) การประเมินความเสียหายและการบำรุงรักษารถ (Breakdown and Maintenance Management) เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่สุด 2 ประการ ของการนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์มาใช้คือ ด้านความปลอดภัยของคนขับรถและการบำรุงรักษายานยนต์ รวมทั้งชะลอความสึกหรอของเครื่องยนต์ โดยในด้านความปลอดภัย ด้วยการจัดการความเสี่ยงในพฤติกรรมการขับรถ สามารถใช้อุปกรณ์เทเลเมติกส์ เพื่อตรวจสอบและแจ้งเตือนการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่แบบเรียลไทม์ ตลอดจนนำ Big Data ของข้อมูลการขับรถ เช่น ความเร็วในการขับขี่ การขับเร่งกระชาก การเบรกกะทันหัน ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ มาวิเคราะห์และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการขับรถและการเกิดอุบัติเหตุผ่านโมเดลการวิเคราะห์การขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และแสดงผลรายงานในรูปแบบการให้คะแนนการขับขี่ เพื่อให้คนขับ ปรับปรุงพฤติกรรมการขับรถได้อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประเมินความเสียหายและการบำรุงรักษารถ ผ่านเทเลเมติกส์ที่สามารถเก็บข้อมูลจากระบบประมวลผลภายในรถยนต์ เช่น ความเร็วรอบเครื่องยนต์ ความเร็วไมล์รถ ระดับน้ำมัน แรงดันยางรถ ผนวกกับข้อมูลจำพวกประวัติการบำรุงรักษาและซ่อมแซมรถมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้อย่างถูกต้อง ทำให้ธุรกิจสามารถใช้งานรถขนส่งได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความรวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการดำเนินธุรกิจ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดระหว่างการเดินทางได้

ในภาพรวมระดับประเทศ หากมีการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชน จะสามารถนำเทเลเมติกส์เข้ามาใช้สำหรับวางแผนเส้นทางการจัดส่งสินค้าและการเดินรถ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data จำพวกตำแหน่งของรถยนต์ ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ ข้อมูลการขับรถ และข้อมูลอื่น ๆ เช่น การจำกัดความเร็วรถจากป้ายจราจร สัญญาณไฟจราจร รายงานเหตุการณ์บนท้องถนนแบบเรียลไทม์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร และวางแผนเส้นทางการขนส่งที่ดีที่สุดแก่ผู้ประกอบการ ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าได้ตรงตามเวลาและกำหนดเวลาล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน ป้องกันการทุจริตของพนักงานในเรื่องของเวลาการทำงานและระยะทางที่เดินทางจริง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเชื้อเพลิง รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงที่ลดลง

ด้านการเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ พบว่าบริษัทผลิตรถยนต์มีการนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์เข้ามาติดตั้งและเชื่อมต่อกับรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่น มาพร้อมกับฟังก์ชั่นใหม่ที่ให้ ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และความอุ่นใจด้วยบริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ค้นหาตำแหน่งรถยนต์ ตรวจสอบตำแหน่งรถยนต์กรณีถูกโจรกรรม การแจ้งเตือนขณะจอดรถเมื่อเกิดความผิดปกติกับรถยนต์ การนัดหมายเพื่อนำรถเข้าบริการตามระยะ บริการความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งจากที่กล่าวมาพบว่าเทเลเมติกส์มีความโดดเด่นในเรื่องของความปลอดภัย จึงทำให้ธุรกิจด้านอื่นอย่างธุรกิจประกันภัยนำเทเลเมติกส์เข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การบริการแก่ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ เทเลเมติกส์ยังเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจด้วยการผลิตยานพาหนะที่ไร้คนขับ หรือ Autonomous Vehicles ที่ได้เริ่มเข้ามาถึงอุตสาหกรรมการขนส่งในปีที่ผ่านมาแล้ว โดยกล่าวกันว่า เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการขับรถและยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน จากความสามารถของเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองที่เรียกว่า Connected Car ซึ่งก็คือ รถยนต์ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และสามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งภายในรถยนต์และภายนอกรถยนต์ได้ เรียกว่าเป็น Vehicle-to-Vehicle Communication เพื่อควบคุมการขับรถทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้คนขับ ทั้งนี้ ในระดับโลกมีการคาดการณ์ว่า Connected Car จะเติบโตในตลาดได้ 100 เปอร์เซนต์ ในปี พ.ศ. 2569 แม้จะพบเป็นจำนวนน้อยในปัจจุบัน แต่เทเลเมติกส์จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการระบบข้อมูล และพัฒนาเทคโนโลยีของยานพาหนะไร้คนขับให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นความหวังใหม่ในตัวสินค้าและบริการ เสมือนเป็นการเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big Data ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเทเลเมติกส์

ปัจจุบัน ในยุคที่เข้าสู่ Digital Transformation ภาคธุรกิจยานยนต์และการขนส่งได้นำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์มาช่วยในกระบวนการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของดิจิทัล และนำเสนอผลลัพธ์แบบ Visualization ที่เข้าใจง่ายและชัดเจนผ่านการแสดงผลบน Dashboard แอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ที่มีการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ ด้วยรูปแบบของสถิติ คะแนน หรือเกรดจากการวิเคราะห์และประเมินผล ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายและสะดวก นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและตอบรับกับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคใหม่

จากที่กล่าวมาข้างต้น การใช้ข้อมูล Big Data จากเทเลเมติกส์จึงเป็นหัวใจสำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่งที่ประสบผลสำเร็จทั้งในด้านสินค้าและบริการต่อทั้งผู้ประกอบการ ลูกค้า และคนขับรถ รวมทั้งสามารถนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และใช้งานแล้วในปัจจุบัน ไปพัฒนาให้เกิดข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ สำหรับการบริหารและจัดการในกลุ่มรถ ระบบคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ รวมถึงเข้าไปอยู่ในภาคธุรกิจอื่น ๆ ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย และต่อยอดได้อีกไกลในอนาคต ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการด้าน Big Data Telematics ได้ที่ https://www.nostralogistics.com