ผืนป่าห้วยขาแข้งกว่า 1.8 ล้านไร่ ได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยผู้
ท่ามกลางการทำงานที่เต็มไปด้
ปัจจุบันโครงการได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 (ปี พ.ศ.2560) โดยยังคงให้การสนับสนุนในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน , ทุนการศึกษาสำหรับบุตรของผู้พิทักษ์ป่า ,และเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บจากการปฎิบัติหน้าที่ เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิทักษ์ป่าก็คือการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้พิทักษ์ป่า โดยเล็งเห็นว่าการทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขเกิดจากหลักคิดในการดำเนินชีวิตและการทำงานที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้พิทักษ์ป่าและคนในครอบครัวมีแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งยังสามารถส่งต่อความรู้ที่ได้รับไปยังชุมชนโดยรอบเพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผืนป่าอันเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติได้ด้วย โดยมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปถ่ายทอดให้กับเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเจ้าหน้าที่ทั้งในด้านการพึ่งพาตนเอง การทำงานที่เป็นระบบ และการสานสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สามหัวข้อหลักในการอบรมเชิงปฏิ
นางสาวรัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ อินทัช กล่าวว่า “ผู้พิทักษ์ป่าคือต้นแบบของผู้ที่เสียสละเพื่อสังคมส่วนรวมที่แท้จริง ทางอินทัชรู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของวีรบุรุษผู้เสียสละเหล่านี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ‘โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิทักษ์ป่า’ จะเป็นเสมือนคำขอบคุณ การร่วมสนับสนุนและมอบกำลังใจแก่ท่านผู้เสียสละเหล่านี้ทุกคน”
“ด้วยปณิธานที่จะมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรอบด้านของอินทัช โครงการที่จัดทำขึ้นจึงไม่ใช่แค่การมอบสิ่งของเพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น แต่ยังพัฒนาไปถึงเรื่องของการให้องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าอีกด้วย”
“ผู้พิทักษ์ป่าเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สละความสะดวกสบายส่วนตนและทำงานอยู่บนความเสี่ยงเพื่อปกป้องทรัพยากรที่มีค่าของประเทศไทยให้คงอยู่สืบไปจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน อยากให้ทุกฝ่ายหันมาให้ความสนใจกับกลุ่มคนผู้ปิดทองหลังพระเหล่านี้ พร้อมทั้งช่วยกันอนุรักษ์ป่าและสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่”
ทางด้านของคุณวีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เปิดเผยว่า “เจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์เหล่านี้ต้องแบกเป้ ถือปืน ออกไปบุกป่าฝ่าดงทุกวันเพื่อสะกัดกั้นกระบวนการลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ จนบางคนกลับมาพร้อมกับภาวะเครียดหรือสภาพร่างกายที่บาดเจ็บ เพราะต้องปะทะกับผู้กระทำผิดและถูกกดดันจากกลุ่ม ผู้มีอิทธิพล รวมถึงความขัดแย้งกับคนในพื้นที่ซึ่งต้องการใช้ประโยชน์จากป่าในเชิงพาณิชย์”
“ผลจากการที่องค์กรอย่างอินทัชเข้ามาสนับสนุนและช่วยให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน คือ ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เราได้อนาคตที่แน่นอนขึ้น ความฝันชัดเจน ได้รู้ว่าจะจัดการกับชีวิตอย่างไรให้ชีวิตมีความสุขขึ้น…รู้จักวิธีจัดการตัวเอง ได้รู้จักวิธีที่จะดูแลครอบครัว รู้จักที่จะไม่สร้างภาระ ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น มีความสุขขึ้น ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
เพราะผู้พิทักษ์ป่าคือผู้เสี