นายทวีป บุตรโพธิ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน ดั้บมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย ให้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงสินค้า OTOP ที่สะท้อนอัตลักษณ์ ศิลปวัฒธรรมและวิถีชีวิตในท้องถิ่นนั้นๆ เข้ากับแหล่งท่องเที่ยวและบริการ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม มุ่งเน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ปี 2561 กรมฯ ได้กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน ได้แก่ เส้นทางที่ 1 “อารยธรรมล้านนา” (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา) เส้นทางที่ 2 “ฝั่งทะเลตะวันตก” หรือ รอยัล โคสต์ คลัสเตอร์ (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง) เส้นทางที่ 3 “ฝั่งทะเลตะวันออก” หรือ แอกทีฟ บีช คลัสเตอร์ (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) เส้นทางที่ 4 “อันดามัน” (ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง สตูล) เส้นทางที่ 5 “อารยธรรมอีสานใต้” (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) เส้นทางที่ 6 “ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง” (อยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง สิงห์บุรี) เส้นทางที่ 7 “วิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง” (เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร) และเส้นทางที่ 8 “มรดกโลกด้านวัฒนธรรม” (ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก)
นายทวีป กล่าวว่า ทั้งนี้ กรมฯ ได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อภาพลักษณ์เชิงบวก ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่น ไว้วางใจในด้านภาพลักษณ์ของกรมการพัฒนาชุมชนและภาพลักษณ์การดำเนินงานโครงการพฒันาหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ดังเช่น เส้นทางที่ 7 “วิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง” ประกอบด้วย 7 จังหวัด 22 อำเภอ 27 ตำบล 30 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวลุ่มน้ำโขง อาทิ จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม มีความโดดเด่นของชุมชน มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนให้ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ หมู่บ้านผาตั้ง น้ำตกธารทองอยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ 1 ต.ผาตั้ง ตรงทางแยกจะไปถ้ำเพียงดินและผาตากเสื้อ น้ำตกจะมีน้ำเฉพาะช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน หรือจะเป็นสกายวอล์ค ผาตากเสื้อ จุดท่องเที่ยวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ของจังหวัดหนองคาย ถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ที่มีคนพูดถึงมากที่สุด สามารถสัมผัสวิวทิวทัศน์ 2 ฟากฝั่งแม่น่ำโขง กับสกายวอล์คพื้นกระจกใส ที่บริเวณจุดชมวิววัดผาตากเสื้อ และยังเป็นสกายวอล์กกระจกใสแห่งแรกในประเทศไทย รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP หรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ยกระดับให้เป็นสินค้าของฝากของที่ระลึก
นายทวีป กล่าวว่า ส่วนจังหวัดเลย บ้านเชียงคาน เป็นอีกมนต์เสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวหลงใหล ได้แก่ วัดมหาธาตุ เชียงคาน แหล่งท่องเที่ยวที่มากไปด้วยประวัติศาสตร์ ภูทอก จุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม และมองเห็นลำน้ำโขงได้โดยรอบ สามารถชมทะเลหมอกในยามเช้า หรือเที่ยวริมโขง เชียงคาน ชมบรรยากาศสุดสวยริมฝั่งโข งตรงข้ามกันเป็นฝั่งลาว ในหน้าร้อนจะมีอากาศที่เป็นไอร้อนเหมือนเป็นควันสีขาวลอยตลอดเวลา และช่วงหน้าหนาว จะมีหมอกปกคลุมและเมฆลอยต่ำ มีอากาศที่หนาวเย็นเหมาะแก่การออกกำลังกายเพื่อรับกับอากาศที่สดชื่น และเที่ยวถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง ถนนคนเดินวัฒนธรรม เป็นถนนที่เต็มไปด้วยบ้านไม้เก่าแก่ ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร และร้านค้าสุดเก๋มากมาย ซึ่งเรียกถนนเส้นนี้ว่า “ชายโขง” โดยระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวนิยมมาปั่นจักรยานชมบรรยากาศ ถ่ายรูปเล่น ชมบ้านไม้สมัยเก่า และช่วงเช้าจะมีประเพณีตักบาตรข้าวเหนียว
นายทวีป กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะที่จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดใหม่ที่น่าหลงใหล เมืองเล็กๆ ที่น่าจดจำจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย เปรียบเสมือนด่านประเพณีบ้านพี่เมืองน้องระหว่างไทยกับลาว สะง้อเป็นแผ่นดินเหนือสุดแดนอีสาน เช่น หมู่บ้านสะง้อ ชาวบ้านที่อาศัยส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายลาวไทย มีการพัฒนาชุนเป็นแหล่งท่องเที่ยวมากมาย อาทิ วัดอาฮงศิลาวาส เป็นวัดที่มีความสวยงาม อีกทั้งยังมีโบสถ์หินอ่อนที่ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชและพระบรมสารีริกธาตุ กลุ่มทอผ้านาคีหมักโคน ผ้าขาวม้าบ้านดารา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นแหล่งผลิตผ้าฝีมือดีอีกแห่งหนึ่งของอีสานเหนือติดริมน้ำโขง ด้วยผ้าที่มีการย้อมสีธรรมชาติ และชมถนนริมโขง จุดเหนือสุดของอีสาน เช่นเดียวกับ หมู่บุ่งคล้าเหนือ แหล่งท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำโขง การทำประมงลุ่มน้ำโขง เรียนรู้วิถีชุมชน ไทญ้อ และศิลปะหัตถกรรมพื้บ้าน ที่ยังยึดถือขนบธรรมเนียบประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในตำบลหนองเดิ่น อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ต่อมาได้แบ่งแยกหมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลบุ่งคล้า และได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า ซึ่งบ้านบุ่งคล้า อพยพมาจากลาวใต้ มีหนองน้ำอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ทั้งหาดทรายและอ่าวน้ำลึก ชาวไทญ้อ เรียกว่า “บุ่ง” และมีต้นคล้าขึ้นอย่างหนาแน่น หมู่บ้านนี้จึงเรียกว่า บ้านบุ่งคล้ามีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น จุดเช็คอิน ลานพญานาค ดูวิถีชีวิตเกษตรริมโขง นั่งเรือดูริมโขง ชมแม่น้ำ 2 สี ชมพระอาทิตย์ตกดิน และมีอาหารพื้นถิ่นขึ้นชื่อ คือ ซุปซาว ซุปผักรวมที่ทำจากผักพื้นบ้านนานาชนิด ดีต่อสุขภาพ ให้ได้ลองชิมอีกด้วย