ในวันนี้ (5 เมษายน 2561) เวลา10.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม. พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนนโยบายสาธารณะ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ตลอดจนผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมกันแถลงข่าวรณรงค์ “สงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย ไม่ลวนลาม” โดยภายในงานมีการแสดง แต่งไทยย้อนยุค และแร๊พเพลง “สงกรานต์ ปลอดเหล้า ปลอดภัย ไม่ลวนลาม”

นายเลิศปัญญา กล่าวว่า ในแต่ละปีปัญหาการล่วงละเมิดต่อผู้หญิงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งในบริเวณที่เป็นพื้นที่เล่นสงกรานต์ และบริเวณใกล้เคียง แม้จะได้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ รณรงค์ให้เกิดความตระหนัก แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ และที่สำคัญ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะผู้ถูกกระทำ มักไม่รู้สิทธิของตนเอง แต่ถูกทำให้เข้าใจไขว้เขวว่าเป็นความผิดของตนเอง ส่งผลให้ตัดสินใจ ไม่แจ้งความ ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้กระทำผิดยังสามารถอยู่ได้ในสังคม ปัญหาจึงไม่หมดไป

เราจึงได้ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
ให้บูรณาการการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำตามขั้นตอนการคุ้มครองที่ศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม
หรือสายด่วน 1300 กำหนดไว้ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

“การรณรงค์ สงกรานต์ ปลอดเหล้า ปลอดภัย ไม่ลวนลาม ที่ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ มีทั้งการป้องกันและการแก้ไข เพื่อสร้างการรับรู้แก่หญิงชายทั่วไปว่า การล่วงละเมิดทางเพศนั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา จนทุกคนละเลย ไม่สนใจ ไม่ระแวดระวัง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากแต่เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และผิดกฎหมาย และ เพื่อสร้างความรู้ว่า เมื่อเรารับรู้ว่าเกิดการล่วงละเมิดทางเพศขึ้น ต้องตระหนักว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความช่วยเหลือ และรู้ว่าการช่วยเหลือต้องเป็นเช่นไร ไปทางไหนก่อน – หลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถูกกระทำ” นายเลิศปัญญา กล่าว

ด้าน ดร.สุปรีดา กล่าวว่า จากข้อมูลผลส้ารวจความคิดเห็นต่อการจัดงานสงกรานต์ ปี 2560 โดยศูนย์วิจัย เพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ระบุว่า สิ่งที่ประชาชนกังวลเมื่อมาเที่ยวสงกรานต์ 3 ประเด็น คือ ทะเลาะ วิวาท ร้อยละ 55.9 เล่นน้ำที่รุนแรง ร้อยละ 40.9 และอุบัติเหตุ ร้อยละ 38.6 ทั้งนี้คนมาเที่ยวชมงานสงกรานต์ เห็น ว่า การเล่นสงกรานต์แบบไร้แอลกอฮอล์ จะช่วยลดอุบัติเหตุ การเสียชีวิต ลดปัญหาทะเลาะวิวาทได้ และเห็นว่า การจัดสงกรานต์ปลอดเหล้าไม่ได้ท้าให้นักท่องเที่ยวลดลง โดยส่วนใหญ่ร้อยละ80.6 เห็นด้วยว่าการจัดงาน สงกรานต์ ควรจัดแบบปลอดเหล้า แต่อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 68.2 ยังเห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วง สงกรานต์เป็นเรื่องปกติธรรมดา นอกจากนี้ข้อมูลงานวิจัย ชี้ชัดว่า การจัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า หรือกำหนดโซน นิ่งพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า มีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจให้คนมาเที่ยวงานมากขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าว สอดรับกับคน ส่วนใหญ่ที่เห็นว่างานสงกรานต์ปลอดเหล้า ไม่ได้ท้าให้นักท่องเที่ยวลดลง ไม่ได้ท้าให้บรรยากาศเงียบเหงา หรือไป กระทบก่อผลเสียต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ กลับช่วยให้สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขปลอดภัย แต่เรื่องที่ ยังน่าห่วง คือ การจัด MidNight สงกรานต์ หรือสงกรานต์เล่นน้ำกลางคืน ที่ถูกธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช้เป็น เครื่องมือส่งเสริมการขายเหล้าเบียร์ โดยจัดกิจกรรมเล่นน้ำตามผับ บาร์ ร้านเหล้าและลานหน้าห้างสรรพสินค้า มี คอนเสิร์ต พ่วงลานเบียร์ อาจกลายเป็นสาเหตุสำคัญของความสูญเสียได้

“ที่ผ่านมา สสส.และภาคี สสส. ได้ริเริ่มจัดพื้นที่โซนนิ่งปลอดเหล้า ไม่อนุญาตให้น้าเหล้าเบียร์เข้าพื้นที่ที่จัดไว้ ให้เป็นพื้นที่เล่นน้้า และถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่น้าร่องแห่งแรก กระทั่งขยายกลายเป็น50ถนน ตระกูลข้าวและ100 พื้นที่เล่นน้้าปลอดเหล้า จากนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขต โซนนิ่งไปอีกกว่า3,200 แห่ง ทั่วประเทศ และปีนี้ขยับสร้างพื้นที่เล่นน้้าปลอดภัยเข้มข้นในทุกอ้าเภอทุกจังหวัด รวมถึงสร้างมาตรการดูแลเรื่อง ความปลอดภัยทางถนน อาทิ รณรงค์สวมหมวกและคาดเข็มขัดนิรภัย การตั้งด่านชุมชน สร้างมาตรการและความร่วมมือระดับชุมชนศูนย์ถนนระดับอ้าเภอ การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ ทั้งนี้สสส.ได้สนับสนุนสื่อรณรงค์แบรนเนอร์5,000ผืน และสติกเกอร์50,000แผ่นเพื่อใช้รณรงค์สงกรานต์ปลอดภัยปีนี้ด้วย ” ดร.สุปรีดา กล่าว

ทางด้านของ นายวิษณุ กล่าวว่า สงกรานต์นี้สิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ปัญหาความสูญเสียจากอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง การเล่นน้ำที่รุนแรง ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย รวมถึงพฤติกรรมเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัย ยิ่งหลังเที่ยงคืน เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแล เนื่องจากอ่อนล้าหลังปฏิบัติหน้าที่มาทั้งวัน หากพื้นที่ไหนไม่จัดงานปลอดเหล้า ส่งเสริมให้ดื่มหนักตั้งแต่หัวค่ำยันเที่ยงคืน ผู้มาร่วมงานส่วนใหญ่เป็นเยาวชน อยู่ในสภาพมึนเมาเมื่อเดินทางกลับบ้านโดยรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน๊อค ขับรถเร็ว จึงเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเจ็บตายเพิ่มมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการล่วงละเมิดคุกคามทางเพศก็ง่ายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งน้ำเมาเป็นเหตุของการลวนลาม อนาจาร มีผลลบต่อการท่องเที่ยว เพราะบางชาติเขาถือสาเรื่องนี้มาก

“ภาคีเครือข่ายฯและสสส.เคยนำร่องบทเรียนความสำเร็จจัดงาน Midnight สงกรานต์กลางคืนแบบปลอดเหล้า เช่น ถนนข้าวทิพย์ปลอดเหล้า จังหวัดจันทบุรี มีโครงการฝากเหล้าไว้กับตำรวจ งาน Hadyai Midnight Paradise ที่สงขลาจัดแบบสนุกได้ไร้แอลกอฮอล์ มีตั้งคอนเสริ์ตและปาร์ตี้โฟม และงานสงกรานต์โนแอล ที่ห้าง Limelight Avenue ที่ภูเก็ต และการจัดงานที่หน้า CentralWorld กรุงเทพ ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 7 ยืนยันผลสำเร็จควบคุมผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้อย่างมาก” นายวิษณุ กล่าว